บริจาค

เห็นว่า..บล็อกนี้ดี มีประโยชน์... โปรดสนับสนุนผู้ทำบล็อกได้ที่ พร้อมเพย์ 083-4616989
หรือบัญชี 002-1-70462-8 กสิกรไทย สาขาบางลำภู

สิ่งศักดิ์สิทธิ์ในวิชาธรรมกาย [1]


สิ่งศักดิ์สิทธ์ก็คือ จักรพรรดิ  ตำราของหลวงพ่อวัดปากน้ำยุคแรกๆ จะใช้คำว่า “กายสิทธิ์” ในความหมายของจักรพรรดิ

 ต่อมา เมื่อความรู้มากขึ้นแล้ว จึงแบ่งความหมายออกเป็น 2 กลุ่มคือ จักรพรรดิ กับ กายสิทธิ์ 

จักรพรรดิแบ่งตามอำนาจและบารมีเป็น 3 ประเภท คือ จุลจักรพรรดิ มหาจักรพรรดิ และบรมจักรพรรดิ 

กายสิทธิ์ คือ จักรพรรดิที่ยังมีบารมีน้อยอยู่  บารมียังไม่ถึงขั้นที่จะเป็นจักรพรรดิทั้ง 3 ประเภทดังกล่าวได้

บทความนี้ ผมไม่ได้เขียนขึ้นเอง แต่ไปพบในที่นี่ http://www.navagaprom.com/ ซึ่งน่าจะเป็นพวกมหายาน  ซึ่งอ่านคร่าวๆ แล้วก็มีผิดบ้าง ถูกบ้าง 

เว็บดังกล่าว นับถือวิชาธรรมกายด้วย  นับถือมหายานด้วย  ก็ลองอ่านกันดูว่า เมื่อมหายานเอาวิชาธรรมกายไปเผยแพร่  จะถูกต้องตรงเผง หรือมีการเปลี่ยนแปลงอะไรกันบ้าง

กายสิทธ์ คืออะไร? มีความสำคัญต่อการเจริญวิชชาธรรมกายอย่างไร?

กายสิทธิ์ในวิชชาธรรมกาย เรียกว่า ภาคผู้เลี้ยงมนุษย์ ซึ่งเป็นผู้เลี้ยงมนุษย์ มีหน้าที่เลี้ยงดูพิทักษ์รักษาพวกกายมนุษย์

พวกกายสิทธิ์มีรูปร่างคล้ายพระ พุทธรูปทรงเครื่อง มีดวงแก้วเป็นเรือนอาศัย กล่าวโดยย่อ มี ๓ ขั้น คือ
๑. จุลจักร    พร้อมทั้งบริวารมีหนาที่เลี้ยงรักษากายมนุษย์ ที่มีบารมีอย่างต่ำ
๒. มหาจักร พร้อมทั้งบริวารมีหน้าที่เลี้ยงรักษากายมนุษย์ ที่มีบารมีชั้นกลาง
๓. บรมจักร พร้อมทั้งบริวารมีหน้าที่เลี้ยงรักษากายมนุษย์ ที่มีบารมีชั้น สูง

มนุษย์คนหนึ่งๆ มีจักรพรรดิทั้ง ๓  พร้อมบริวารชุดหนึ่งๆ เป็นผู้เลี้ยง และอาจผลัดเปลี่ยนกันรักษาไปตามคราว ๆ เป็นต้นว่า...
คราวใดจุลจักรกับบริวารเลี้ยงรักษาก็มีทรัพย์สมบัติและความสุขน้อย
คราวใดมหาจักรกับบริวารเลี้ยงรักษาก็มีทรัพย์สมบัติและความสุขมัชฌิมา
คราวใดบรมจักรกับบริวารเลี้ยงรักษา ก็มีสมบัติและความสุขบริบูรณ์ทุกประการ

ไม่เลี้ยงรักษาแต่เฉพาะกายมนุษย์เท่านั้น สิ่งไม่มีวิญญาณก็สมบูรณ์เหมือนกัน ถึงแม้สมัยยุคของโลกก็เลี้ยงทั่วไปเป็นสาธารณะเหมือนกัน

ถ้ายุคใดสมัยใด จุลจักรกับบริวารเลี้ยงรักษาโลกก็มีความสุขน้อย สมบัติและอาชีพต่างๆ ก็อัตคัดกันดารไม่สมบูรณ์

ถ้ายุคใดสมัยใดมหาจักรกับบริวารเลี้ยงรักษา โลกก็มีความสุข เป็นมัชฌิมาทรัพย์สมบัติและเครื่องกินเครื่องใช้ก็พอปานกลางไม่ฟุ่มเฟือยนัก และ ไม่กันดารนัก พอปานกลาง

ถ้ายุคสมัยใด  บรมจักรกับบริวารเลี้ยงรักษา โลกก็บริบูรณ์ไปด้วยความ สุขทุกประการ ทรัพย์สมบัติ วิญญาณกทรัพย์ และอวิญญาณกทรัพย์ก็หาได้ง่าย มั่งคั่งสมบูรณ์ไปตามๆ กัน ไม่เบียดเบียนกัน

จักรทั้ง ๓ กับบริวารที่กล่าวมานี้ เฉพาะกายมนุษย์ส่วนกายอื่นๆ  ก็มีจักรทั้ง ๓   กับบริวารเลี้ยงรักษามีประจำสำหรับทุกกายไปตลอดจนกายสุดหยาบ สุดละเอียดเท่ากันเหมือนกัน

ถ้าเลี้ยงกายไหน รูปพรรณสัณฐาน ร่างกายก็เหมือนกายนั้น เช่น จักรเลี้ยงกายมนุษย์และกายทิพย์
เลี้ยงกายปฐมวิญญาณหยาบ เลี้ยงกายปฐมวิญญาณละเอียด เลี้ยงกายธรรมเป็นต้นก็มีรูปพรรณสัณฐานเหมือนกับกายนั้นๆ

แต่ทว่าดีกว่า ใสกว่ากายนั้น ๆ   ส่วนรูปร่างเหมือนกับกายที่เลี้ยงนั้น ตลอดจนกายสุดหยาบสุดละเอียด

จักรทั้ง ๓ นั้น เหตุใดจึงเรียกนามว่า จักร คือ กายสิทธิ์มีตัวอยู่ในดวงแก้ว ดวงแก้วนั้นเป็นบ้านเรือนสำหรับอยู่อาศัยของเขา เหมือนมนุษย์อาศัยอยู่บ้านเรือน

ภายในดวงแก้วนั้นมีรัตนะเจ็ด คือ แก้ว ๗ ประการ ดังต่อไปนี้
จักรแก้ว ๑
ช้างแก้ว ๑
ม้าแก้ว ๑
ดวงแก้วมณี ๑
นางแก้ว ๑
คฤหบดี (ขุนคลัง) แก้ว ๑
ขุนพลแก้ว ๑

ในแก้ว ๗ ประการนี้ จักรแก้วเป็นใหญ่ เป็นประธานในแก้ว ๗  ประการ ทั้งหลายเหล่านั้น ในแก้ว ๗ ประการ  เป็นตัวอำนาจมีสิทธิให้สำเร็จ อำนาจและเกิดการน้อยใหญ่ ดุจดังมหาอำมาตย์ผู้ใหญ่  เป็นผู้สำเร็จราชการทั้งปวง เพราะเหตุนี้แหละ จักรทั้ง ๓ นั้นจึงได้นามว่า “จักร”

ความแตกต่างกันของจักรทั้ง ๓ นั้นคือ

จุลจักร เป็นดวงแก้วกลมใส สะอาด บริสุทธิ์ ประณีต   มีฤทธิ์อำนาจและบริวารน้อยกว่าแก้วมหาจักร

มหาจักร เป็นดวงแก้วกลมใส สะอาดบริสุทธิ์ ประณีตกว่าจุลจักร  มีฤทธิ์อำนาจบริวารมากกว่าจุลจักร

บรมจักร เป็นดวงแก้วกลมใส  ขาวสะอาดบริสุทธิ์ประณีตกว่าแก้วมหาจักร มีฤทธิ์อำนาจและบริวารมากกว่าจุลจักรและมหาจักร

กายหนึ่งๆ  ก็มีจุลจักร  มหาจักร  บรมจักร  พร้อมทั้งบริวารเป็นผู้เลี้ยง มีประจำไปเช่นนี้ทุกกาย  กายละพวกๆ  จนสุดหยาบสุดละเอียด  ผู้เลี้ยงก็มีไปจนสุดหยาบสุดละเอียดของกายผู้เลี้ยงเหมือนกัน

ขนาดของจักรทั้ง ๓ กับแก้วบริวาร คือ

๑) แก้วจุลจักร  และบริวาร    ขนาดตั้งแต่เล็กเท่าแววตาดำขึ้นไป  จนถึงโตเท่าผลมะตูม หรือผลมะขวิด

๒) แก้วมหาจักร  และบริวาร  ขนาดผลตาลขึ้นไปจนถึงผลมะพร้าวแห้ง

๓) แก้วบรมจักร  และบริวาร  ขนาดตั้งแต่เท่าบาตรขึ้นไปจนถึงโตเท่าตะแกรงหรือเท่ากระด้ง

พวกผู้เลี้ยงหรือที่เรียกว่า พวกกายสิทธิ์นี้ ก็มีธาตุตายธรรมตาย เป็นต้นว่า ภพเป็นที่อยู่เหมือนกับพวกมนุษย์เช่นเดียวกัน

ธาตุเป็น ธรรมเป็น ก็มีเหมือนกายมนุษย์  คือ มีกาย  ใจ จิต วิญญาณ   รวมเป็น ๔ อันเป็นที่ตั้งของเห็นจำคิดรู้ มีธาตุคือ ธาตุเห็น ธาตุจำ ธาตุคิด ธาตุรู้ รวมเป็น ๔ และมีดวงคือ ดวงเห็น ดวงจำ ดวงคิด  ดวงรู้  อีก ๔ รวมเป็น  ธาตุ ๑๒ ธรรม  ๑๒ 

(ที่กล่าวมานี้ ปรากฏอยู่ใน หนังสือวิชชามรรคผลพิสดาร เล่ม ๒ ของหลวงพ่อวัดปากน้ำซึ่งเป็นตำราวิชชาธรรมกายขั้นสูง)


ในส่วนนี้ เว็บ http://www.navagaprom.com/ ลอกเอามาลงเฉยๆ ไม่มีการอธิบายเพิ่มเติมหรือดัดแปลงใดๆ 


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น