บริจาค

เห็นว่า..บล็อกนี้ดี มีประโยชน์... โปรดสนับสนุนผู้ทำบล็อกได้ที่ พร้อมเพย์ 083-4616989
หรือบัญชี 002-1-70462-8 กสิกรไทย สาขาบางลำภู

ไสยศาสตร์ไม่ใช่เรื่องงมงาย



ชื่อของบทความไม่ใช่ผมคิดขึ้นมาเอง  ผมไม่ได้มีความคิดอย่างนั้น  ถึงได้มาเขียนบทความเพื่อวิพากษ์วิจารณ์เอาไว้ให้เป็นประวัติศาสตร์

“ไสยศาสตร์” มันไม่ควรจะไปติดฉลากว่า “งมงาย” หรือ “ไม่งมงาย”  แต่มันควรจะช่วยกันบอกสังคมหรือประชาชนคนไทยว่า “อย่าไปยุ่งกับมัน”

ผมได้เขียนเกี่ยวกับ “ไสยศาสตร์” ไปแล้วหลายครั้งหลายหนว่า “ไสยศาสตร์” มันเป็นเรื่องจริง แต่มันเป็นเรื่องของสาวกของมาร  พุทธศาสนิกชนควรหลีกเลี่ยงไกลที่สุด

คนที่เข้าหา “ไสยศาสตร์”  พึ่ง “ไสยศาสตร์” หากินกับ “ไสยศาสตร์” ไม่นานก็จะพบกับความฉิบหายวายป่วง

ประการสำคัญเลยก็คือ ปัจจุบันนี้ “ไสยศาสตร์” ของจริงมันแทบจะไม่ได้พบเห็นแล้ว มีน้อยมากแล้ว  ไอ้ที่เผยแพร่กันตามสื่อออนไลน์นั้น  ของปลอมทั้งสิ้น

นิตยสาร mars online อันเป็นส่วนหนึ่งของผู้จัดการออนไลน์ ได้ไปสัมภาษณ์  อาจารย์คมกฤช อุ่ยเต็กเค่ง (เชฟหมี) อาจารย์ประจำภาควิชาปรัชญา คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ผู้เชี่ยวชาญปรัชญาอินเดีย ศาสนาฮินดู และศาสนาในสังคมปัจจุบัน

แล้วเอาคำสัมภาษณ์ดังกล่าวมาเขียนเป็นบทความ ‘ไสยศาสตร์’ ไม่ใช่เรื่อง ‘งมงาย  ใครอยากอ่านบทความฉบับเต็มก็ตามลิงก์ไปเลย  ผมจะนำมาวิเคราะห์เพียงบางส่วนของบทความเท่านั้น

ตรงนี้ ต้องขอบอกก่อนว่า ในทางวิชาการนั้น สังคมไทยเรานั้น เราต้องเรียกว่า “สังคมพุทธ-ผี-พรามหณ์

แต่แรกเลย คนในขวานทองของเรานี้ นับถือผีมาก่อน  เมื่อศาสนาพราหมณ์-ฮินดูเข้ามา พี่ไทยเรานิสัยดีก็รับไว้อีก 

สุดท้ายเลย ศาสนาพุทธเข้ามา เราก็รับไว้อีก โดยผสมปนเปกันไปหมด  แต่เราจะนับถือพระ มากกว่าผี และพราหมณ์ คือ จะใช้ตามสถานการณ์ตามความจำเป็น

ของขลังรุ่นใหม่ ‘สิ่งไหนเร็วสิ่งนั้นดี’

“โลกปัจจุบันกลายเป็นว่าความเร็วเป็นความดี เพราะคนไม่มีความอดทน ไสยศาสตร์มันมาตอบโจทย์ตรงนี้เป๊ะ

ถ้าเรามัวแต่ทำงาน กว่าเราจะรวยเป็น 10 ปี แต่วันหนึ่งฉันซื้อกุมารทองในราคาไม่กี่บาท เดี๋ยวกูรวยเลย มันกลายเป็นตัวช่วยที่แมตช์กับคุณค่าโลกสมัยใหม่พอดี โดยเฉพาะคนที่อยู่ในเมืองกรุง

คนชั้นกลางต้องการสิ่งนี้มาก ชีวิตในกรุงเทพฯ เราก็รู้ว่าถ้าไม่เร็วชีวิตแย่เลย อะไรที่ทำให้เร็วกลายเป็นสิ่งที่มีคุณค่ามาก

ผมมองว่ามันเป็นปัญหา เพราะมันไม่ได้มองชีวิตตามความเป็นจริง อยากได้เร็วทุกอย่าง แม้กระทั่งความรวย สุดท้ายของพวกนี้เลยกลับมาบูม”

ตรงนี้ ผมชักเริ่มสงสัยแล้วว่า อาจารย์คมกฤช อุ่ยเต็กเค่ง (เชฟหมี) แกมีความรู้จริงในเรื่องนี้หรือเปล่า  หรือแกมีอาชีพขายของไสยศาสตร์อยู่ด้วย

ในทางศาสนาพุทธนั้น “ไสยศาสตร์” ไม่เคยทำความสำเร็จให้กับคน มีแต่สร้างความฉิบหายวายป่วงให้เท่านั้น 

คนทำอะไรสำเร็จได้เพราะบุญ-บารมีของเขา  แต่เมื่อขาดความมั่นใจไปพึ่งไสยศาสตร์ พอประสบความสำเร็จขึ้นมาก็นึกว่า “ไสยศาสตร์” ส่งผล

เราไหว้พระและไหว้ผี ด้วยวิธีคิดแบบเดียวกัน

การที่เราไหว้ต้นไม้ แล้วไปไหว้พระธาตุสักองค์ เราไหว้แบบเดียวกันนะ ขอให้รวย ขอให้ดี ผมถามหน่อยว่ามันต่างกันยังไง?

คนก็จะมองว่า พระธาตุเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นในพระพุทธศาสนา แต่อีกอันไม่ใช่สิ่งในพระพุทธศาสนา ก็จะตีตกเป็นงมงาย แต่ประเด็นคือคนไหว้เขาไหว้แบบเดียวกัน จุดธูป จุดเทียน ขอหวย

ใครไปตัดสินได้ว่าอันไหนงมงายหรือไม่งมงาย จริงๆ ไม่ต่างกันเลย เพราะไม่ได้ไหว้เพื่อแสดงความนบนอบต่อพระรัตนตรัย ซึ่งเป็นท่าทีแบบชาวพุทธ

ประเด็นนี้ อาจารย์คมกฤช อุ่ยเต็กเค่ง (เชฟหมี) ไม่เข้าใจทั้งศาสนาพุทธ รวมถึง “ไสยศาสตร์” อย่างแท้จริง 

คนไทยนับถือทั้งพระ ทั้งผี แต่ไม่ได้นับถือแบบเดียวกัน คนไทยแยกพระกับผีออกจากกันได้

ในทางศาสนาพุทธนั้น เราเชื่อเรื่องการเวียนวายตายเกิด การสร้างบารมี เราไหว้ ไหว้พระธาตุ เพื่อสั่งสมบุญ-บารมีไว้  อย่างน้อยชาติใกล้ๆ นี้ ก็ขอให้เกิดบนสวรรค์  ชาติสุดท้ายก็ขอให้ไปนิพพาน

การไหว้ผีนั้น เป็นการขอโชคลาภระยะสั้น หรือขอให้ผีอย่ามาทำอะไรตนเอง

สุดท้ายมาถึงเรื่องงมงายหรือไม่งมงาย

คนที่ตัดสินว่า “ไสยศาสตร์” เป็นเรื่องงมงายนั้น ส่วนใหญ่แล้วเป็นพวกที่นับถือวิทยาศาสตร์  พวกนี้ไม่เชื่อว่า “ไสยศาสตร์” เป็นเรื่องจริง

คำว่า “งมงาย” เป็นคำเชิงดูถูก ในทำนองล้าสมัย โง่  ซึ่งพวกที่นับถือวิทยาศาสตร์ชอบไปวิพากษ์คนอื่น  ทั้งๆ ที่พวกนั้น มันก็ “งมงาย” ในวิทยาศาสตร์

พวก “งมงาย” ในวิทยาศาสตร์นั้น ไม่ได้ดูถูกเพียงไสยศาสตร์เท่านั้น   พุทธศาสนิกชนพันธุ์แท้ที่เชื่อเรื่องนรก-สวรรค์  บาป-กรรม การเวียนว่ายตายเกิดก็โดยไปด้วย

โดยสรุป

ประเด็นเรื่อง “ไสยศาสตร์” นี้  นำมาเขียนแบบนี้ จะทำให้มีคนยอมรับไสยศาสตร์มากขึ้น ซึ่งเป็นเรื่องที่ไม่ควรทำเป็นอย่างยิ่ง

“ไสยศาสตร์” นั้น ประชาชนควรได้รับความรู้ว่า มันคืออะไร และไม่ควรเข้าไปเกี่ยวข้องเพราะเหตุใด  แต่ไม่ใช่มาเขียนว่า “ไสยศาสตร์ไม่ใช่เรื่องงมงาย”






ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น